วันพุธที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 9

วัน/เดือน/ปี 31/01/57     เวลาเรียน 14:10-17:30

วันนี้นำเสนองานกลุ่ม โดยแบ่งกลุ่ม กลุ่มล่ะ3คน ทำสื่อที่เกี่ยวข้องกับรายวิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  และนำไปทดลองใช้กับเด็กจริง และให้ออกมานำเสนอให้เพื่อนๆฟังว่า เมื่อเราได้นำสื่อไปทดลองแล้ว มีผลอย่างไร เด็กทำได้หรือไม่ และ เกิดปัญหาอะไรบ้างระหว่างทำกิจกรรม
สื่อของกลุ่มข้าพเจ้า ชื่อว่า บวกเลขหรรษา
 วิธีเล่น 
ให้เด็กๆ บวกผลไม้ที่อยู่ในแต่ละช่อง เมื่อบวกเสร็จแล้ว ให้นำป้ายตัวเลขที่ตรงกับคำตอบของตน ไปติดไว้ ข้างหลังช่องนั้น
ผลการทดลองเล่น
น้องที่กลุ่มข้าพเจ้า ไปทดลองเป็นเด็กชาย อายุ 5 ปี เรียนอยู่ชั้นอนุบาล 3 โรงเรียนแห่งหนึ่งใน กทม. ซึ่งน้องมีพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ดีมาก สามารถบวกเลขได้ถูกทุกข้อ และชอบที่อยากเล่นอยู่เรื่อยๆ

                                                                                                               ปัญหา
ปัญหาที่พบเกี่ยวกับเด็กคือ น้องค่อนข้างขี้อาย และไม่คุ้นเคยกับคนแปลกหน้า หากจะทำกิจกรรมต้องมีแม่คอยดูอยู่ข้างๆตลอด ไม่เช่นนั้นจะ ไม่ทำกิจกรรม ส่วนปัญหาที่พบเกี่ยวกับสื่อคือ สื่อยังไม่แข็งแรงพอสำหรับเด็ก เพราะธรรมชาติของเด็ก มักอยากรู้อยากเห็น ชอบแคะ แกะ หรือดึง เพื่อสนองความอยากรู้ ซึ่งสื่อทำจากกระดาษแข็งและฟิวเจอร์บอร์ดจึงทำให้ขาดง่ายและไม่คงทน



ส่วนสื่อที่ข้าพเจ้าชอบคือ 

สื่อที่ทำจากลูกปิงปอง และแผงวางไข่ เป็นสื่อที่ให้เด็กๆนำลูกปิงปองที่สมุติว่าเป็นไข่เป็ดมาวางตามจำนวนช่องที่กำหนด
เป็นสื่อที่มีสีสันสวยงาม น่าเล่น และลงทุนน้อย





บันทึกอนุทินครั้งที่ 8
วันศุกร์ ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2557

ในวันนี้อาจารย์ให้ทำงานกลุ่ม โดยจัดกลุ่มล่ะ5-6คน เพื่อช่วยกันเขียนแผนกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับรายวิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย เป็นกิจกรรมที่สามารถบูรณาการเข้ากับวิชาคณิตศาสตร์ โดยผ่านรูปแบบการจัดกิจกรรม พื้นฐานสำหรับเด็กปฐมวัย กลุ่มของข้าพเจ้าเลือกทำแผน  หน่วย ขวดมหัศจรรย์ เป็นการเล่นกลางแจ้งที่ บูรณาการเข้ากับคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์  

ในแผน มีอยู่ว่า แบ่งเด็กๆ เป็น 3กลุ่มเท่าๆกัน   และแต่ละกลุ่มจะได้ขวดกลุ่มละ 1 ขวด เพื่อตักน้ำใส่โดยใช้มือของตนเอง ภายในเวลา 1 นาที และจำนำขวดทั้งสามมาเรียงกันจากน้อยไปมาก (พีชคณิต) เพื่อให้เด็กได้สังเกตและเปรียบเทียบปริมาณน้ำในขวด เป็นการบูรณาการสำหรับวิชาคณิตศาสตร์