วันพุธที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 9

วัน/เดือน/ปี 31/01/57     เวลาเรียน 14:10-17:30

วันนี้นำเสนองานกลุ่ม โดยแบ่งกลุ่ม กลุ่มล่ะ3คน ทำสื่อที่เกี่ยวข้องกับรายวิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  และนำไปทดลองใช้กับเด็กจริง และให้ออกมานำเสนอให้เพื่อนๆฟังว่า เมื่อเราได้นำสื่อไปทดลองแล้ว มีผลอย่างไร เด็กทำได้หรือไม่ และ เกิดปัญหาอะไรบ้างระหว่างทำกิจกรรม
สื่อของกลุ่มข้าพเจ้า ชื่อว่า บวกเลขหรรษา
 วิธีเล่น 
ให้เด็กๆ บวกผลไม้ที่อยู่ในแต่ละช่อง เมื่อบวกเสร็จแล้ว ให้นำป้ายตัวเลขที่ตรงกับคำตอบของตน ไปติดไว้ ข้างหลังช่องนั้น
ผลการทดลองเล่น
น้องที่กลุ่มข้าพเจ้า ไปทดลองเป็นเด็กชาย อายุ 5 ปี เรียนอยู่ชั้นอนุบาล 3 โรงเรียนแห่งหนึ่งใน กทม. ซึ่งน้องมีพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ดีมาก สามารถบวกเลขได้ถูกทุกข้อ และชอบที่อยากเล่นอยู่เรื่อยๆ

                                                                                                               ปัญหา
ปัญหาที่พบเกี่ยวกับเด็กคือ น้องค่อนข้างขี้อาย และไม่คุ้นเคยกับคนแปลกหน้า หากจะทำกิจกรรมต้องมีแม่คอยดูอยู่ข้างๆตลอด ไม่เช่นนั้นจะ ไม่ทำกิจกรรม ส่วนปัญหาที่พบเกี่ยวกับสื่อคือ สื่อยังไม่แข็งแรงพอสำหรับเด็ก เพราะธรรมชาติของเด็ก มักอยากรู้อยากเห็น ชอบแคะ แกะ หรือดึง เพื่อสนองความอยากรู้ ซึ่งสื่อทำจากกระดาษแข็งและฟิวเจอร์บอร์ดจึงทำให้ขาดง่ายและไม่คงทน



ส่วนสื่อที่ข้าพเจ้าชอบคือ 

สื่อที่ทำจากลูกปิงปอง และแผงวางไข่ เป็นสื่อที่ให้เด็กๆนำลูกปิงปองที่สมุติว่าเป็นไข่เป็ดมาวางตามจำนวนช่องที่กำหนด
เป็นสื่อที่มีสีสันสวยงาม น่าเล่น และลงทุนน้อย





บันทึกอนุทินครั้งที่ 8
วันศุกร์ ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2557

ในวันนี้อาจารย์ให้ทำงานกลุ่ม โดยจัดกลุ่มล่ะ5-6คน เพื่อช่วยกันเขียนแผนกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับรายวิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย เป็นกิจกรรมที่สามารถบูรณาการเข้ากับวิชาคณิตศาสตร์ โดยผ่านรูปแบบการจัดกิจกรรม พื้นฐานสำหรับเด็กปฐมวัย กลุ่มของข้าพเจ้าเลือกทำแผน  หน่วย ขวดมหัศจรรย์ เป็นการเล่นกลางแจ้งที่ บูรณาการเข้ากับคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์  

ในแผน มีอยู่ว่า แบ่งเด็กๆ เป็น 3กลุ่มเท่าๆกัน   และแต่ละกลุ่มจะได้ขวดกลุ่มละ 1 ขวด เพื่อตักน้ำใส่โดยใช้มือของตนเอง ภายในเวลา 1 นาที และจำนำขวดทั้งสามมาเรียงกันจากน้อยไปมาก (พีชคณิต) เพื่อให้เด็กได้สังเกตและเปรียบเทียบปริมาณน้ำในขวด เป็นการบูรณาการสำหรับวิชาคณิตศาสตร์







วันพฤหัสบดีที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่7
วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อ. ตฤน แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี 17/01/57
เวลาเรียน 14:10-17:30

วันนี้อาจารย์ได้มีกิจกรรมให้ทำเป็นกลุ่มมี 2 กิจกรรม คือ


 - กิจกรรมแรก ให้ในห้องแบ่งกลุ่มเท่าๆกัน เป็นกลุ่มใหญ่ๆ 3กลุ่ม  และให้จับฉลากทำงาน กลุ่มของข้าพเจ้า ได้ทำแผนภาพเปรียบเทียบ ความเหมือนและความแตกต่างระหว่างจักรยานและจักรยานยนต์  และให้ตัวแทนกลุ่มออกไปนำเสนอ โดยแสดงบทบาทสมมุติว่าตนเองเป็นครูและให้เพื่อนๆทั้งห้องแสดงความคิดเห็นว่าจักรยานและจักรยานยนต์  มีความเหมือนและแตกต่างกันอย่างไร





-กิจกรรมที่ 2 ให้แบ่งกลุ่ม 5-6 คน และช่วยกันทำชิ้นงานโดยนำรูปทรงเรขาคณิตมาต่อกันเป็นรูปเช่น ตัวหนอน รางรถไฟ เป็นต้น ส่วนกลุ่มของข้าพเจ้าได้ทำเป็นรูปลูกโป่งลอยฟ้า โดยเรียงจาก วงกลม สามเหลี่ยม และสี่เหลี่ยม 



บันทึกอนุทินครั้งที่6
วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อ. ตฤน แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี 10/01/57
เวลาเรียน 14:10-17:30

อาจารย์สอนเกี่ยวกับ กรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
โดยให้ทราบว่า เด็กปฐมวัยเรียนรู้อะไรในคณิตศาสตร์
-คณิตศาสตร์ที่เป็นพื้นฐานการเรียนรู้คุณภาพของเด็กเมื่อจบการศึกษาปฐมวัย คือ
1. มีความคิดเชิงคณิตศาสตร์ (mathematical thinking)
-นับ1ถึง20ได้  -เข้าใจหลักการนับ  -รู้จักตัวเลขฮินดูอารบิกและตัวเลขไทย  -รู้ค่าของจำนวน  - เปรียบเทียบ เรียงลำดับเป็น  - การรวมและการแยกกลุ่ม
2. มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาณ เงินและเวลา-เปรียบเทียบเรียงลำดับ  -รู้จักเงินเหรียญและธนบัตร  -เข้าใจเกี่ยวกับเวลา
3. มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเลขาคณิต-ตำแหน่ง ทิษทาง ระยะทาง
4. มีความรู้ความเข้าใจแบบรูปร่าง ขนาด สี
5. มีส่วนรวมในการนำเสนอข้อมูลในรูปแผนภูมิอย่างง่าย
6. มีทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

สาระและมาตรฐานการเรียนรู้
สาระที่1 : จำนวนและการดำเนินการ
·       มาตรฐาน ค.บ 1.1 = เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง
จำนวน
- การใช้จำนวนบอกปริมาณที่ได้จากการนับ
- การเรียงลำดับจำนวน เป็นต้น
การรวมและการแยกกลุ่ม
- ความหมายของการรวม
- การรวมสิ่งต่างๆสองกลุ่มที่มีผลรวมไม่เกิน10
สาระที่2 : การวัด
·       มาตรฐาน ค.บ 2.1 = เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัด ความยาว น้าหนัก ปริมาณ เงิน เวลา
สาระที่3 : เรขาคณิต
·       มาตรฐาน ค.บ 3.1 = รู้จักใช้คำในการบอกตำแหน่งทิศทาง และระยะทาง
·       มาตรฐาน ค.บ 3.2 = รู้จักจำแนกรูปเรขาคณิตและเข้าใจการเปลี่ยนแปลงรูป
สาระที่4 : พีชคณิต
·       มาตรฐาน ค.บ 4.1 = เข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์
สาระที่5 : การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
·       มาตรฐาน ค.บ 5.1 = รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับตนเองและสิ่งแวดล้อมแล้วนำเสนอ
สาระที่6 : ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

·       การแก้ปัญหา การใช้เหตุผล การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ 
บันทึกอนุทินครั้งที่5

วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อ. ตฤน แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี 13/12/56
เวลาเรียน 14:10-17:30
................................................................

เนื่องจากว่าวันนี้อาจารย์ติดประชุม อาจารย์เลยมอบหมายงานให้นักศึกษาทำในห้องเรียน คือนำกระดาษสีรูปทรงวงกลม สามเหลี่ยมและสี่เหลี่ยมให้เลือก มาประกอบให้เกิดเป็นรูปสัตว์ ข้าพเจ้าเลือกรูปสี่เหลี่ยมและตกแต่งวาดรูปลงสีเพิ่มเติมให้เป็นรูปปลา


วันพฤหัสบดีที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 4


วันนี้อาจารย์ ได้ให้แต่ละกลุ่ม นำเสนองาน ที่ได้รับมอบหมาย โดย นำเสนอเป็น พาวเวอร์พ้อย และ ยกตัวอย่าง ให้สอดคล้องกับวิชาการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ตามหัวข้อดังนี้ 
1.จำนวนและการดำเนินการ
2.รูปทรงเลขาคณิต
3.การวัด
4.พีชคณิต
5.การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
 
ทุกกลุ่มนำเสนอได้น่าสนใจ แต่มีกลุ่มที่ข้าพเจ้าคิดว่า นำเสนอได้ดี และมีกิจกรรมที่น่าสนใจเข้าใจง่าย  คือกลุ่ม เรขาคณิต และการวัด 

รูปตัวอย่าง


วันศุกร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ 3


วันนี้อาจารย์ได้พูดถึง จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
  • เด็กเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับคณิตศาสตร์
  • สามารถมโนภาพเกี่ยวกับคณิตศาสตร์
  • รู้จักใช้กระบวนการในการหาคำตอบ
ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
  1. การสังเกต
  2. การจำแนก
  3. การเปรียบเทียบ
  4. การจัดลำดับ
  5. การวัด
  6. การนับ
  7. รูปทรงและขนาด
คำศัพท์เกี่ยวกับคณิตศาสตร์
  • ตัวเลข  น้อย มาก น้อยกว่า มากกว่า ไม่มี ทั้งหมด
  • ขนาด  ใหญ่ คล้าย สองเท่า ใหญ่ที่สุด สูง เตีย
  • รูปร่าง  สามเหลี่ยม วงกลม สี่เหลี่ยม ยาว โค้ง สั้นกว่า แถว
  • ที่ตั้ง บน ต่ำ ขวา สูงสุด ยอด ก่อน ระยะทาง ระหว่าง
  • ค่าของเงิน  สลึง ห้าสิบสตางค์ หนึ่งบาท ห้าบาท สิบบาท
  • ความเร็ว  เร็ว ช้า เดิน วิ่ง คลาน
  • อุณหภูมิ  เย็น  ร้อน อุ่น เดือด
หลังจากนั้น อาจารย์ได้ให้ทำกิจกรรม ดอกไม้ของฉัน โดย ให้วาดวงกลม 1 วง และเขียนเลขที่ชอบไป 1 ตัว โดยไม่บอกว่าให้ทำอะไร แล้วอาจารย์ก็เฉลยว่า ให้ทำกลีบดอกไม้ ตามจำนวนตัวเลขที่เขียนไว้ในวงกลม ข้าพเจ้า เขียนเลข 3