วันพฤหัสบดีที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 4


วันนี้อาจารย์ ได้ให้แต่ละกลุ่ม นำเสนองาน ที่ได้รับมอบหมาย โดย นำเสนอเป็น พาวเวอร์พ้อย และ ยกตัวอย่าง ให้สอดคล้องกับวิชาการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ตามหัวข้อดังนี้ 
1.จำนวนและการดำเนินการ
2.รูปทรงเลขาคณิต
3.การวัด
4.พีชคณิต
5.การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
 
ทุกกลุ่มนำเสนอได้น่าสนใจ แต่มีกลุ่มที่ข้าพเจ้าคิดว่า นำเสนอได้ดี และมีกิจกรรมที่น่าสนใจเข้าใจง่าย  คือกลุ่ม เรขาคณิต และการวัด 

รูปตัวอย่าง


วันศุกร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ 3


วันนี้อาจารย์ได้พูดถึง จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
  • เด็กเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับคณิตศาสตร์
  • สามารถมโนภาพเกี่ยวกับคณิตศาสตร์
  • รู้จักใช้กระบวนการในการหาคำตอบ
ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
  1. การสังเกต
  2. การจำแนก
  3. การเปรียบเทียบ
  4. การจัดลำดับ
  5. การวัด
  6. การนับ
  7. รูปทรงและขนาด
คำศัพท์เกี่ยวกับคณิตศาสตร์
  • ตัวเลข  น้อย มาก น้อยกว่า มากกว่า ไม่มี ทั้งหมด
  • ขนาด  ใหญ่ คล้าย สองเท่า ใหญ่ที่สุด สูง เตีย
  • รูปร่าง  สามเหลี่ยม วงกลม สี่เหลี่ยม ยาว โค้ง สั้นกว่า แถว
  • ที่ตั้ง บน ต่ำ ขวา สูงสุด ยอด ก่อน ระยะทาง ระหว่าง
  • ค่าของเงิน  สลึง ห้าสิบสตางค์ หนึ่งบาท ห้าบาท สิบบาท
  • ความเร็ว  เร็ว ช้า เดิน วิ่ง คลาน
  • อุณหภูมิ  เย็น  ร้อน อุ่น เดือด
หลังจากนั้น อาจารย์ได้ให้ทำกิจกรรม ดอกไม้ของฉัน โดย ให้วาดวงกลม 1 วง และเขียนเลขที่ชอบไป 1 ตัว โดยไม่บอกว่าให้ทำอะไร แล้วอาจารย์ก็เฉลยว่า ให้ทำกลีบดอกไม้ ตามจำนวนตัวเลขที่เขียนไว้ในวงกลม ข้าพเจ้า เขียนเลข 3

วันอาทิตย์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556


บันทึกอนุทินครั้งที่ 2
วิชา  การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิ่น
ครั้งที่ 2เวลาเรียน 14:10น. - 17:30น.

อาจารย์ ได้สอนททฤษฎีเกียวกับเนื้อหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัย ข้าพเจ้าได้จดบันทึก และสรุปเนื้อหาโดยสังเขป คือ

ความหมาย .... 
ระบบการคิดของมนุษย์ เพื่ออธิบายความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ เชิงปริมาณ โดยใช้ภาพ สัญลักษณ์ การพูด การเขียน และทำความเข้าใจกับตัวเลข

ความสำคัญ... 
  • เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน
  • ส่งเสริมกระบวนการคิดแก้ปัญหาโดยเฉพาะการอาศัยหลักการ
  • เป็นเครื่องมือในการสำรวจข้อมูล วางแผน ประเมินผล
  • เป็นฐานในการเรียนรู้ของวิชาต่างๆ
ทฤษฏีที่เกี่ยวข้อง (Piajet)
  1. พัฒนาการด้านประสาทสัมผัส (sensorimoter stage)
  • เด็กเรียนรู้จากประสาทสัมผัส
  • สามารถจดจำลักษณะของวัตถุ
2.ขั้นเตรียมการความคิดที่มีเหตุผล (preoperational stage)
  •   .ใช้ภาษาพูดแสดงความรู้และความคิด
  • รู้จักคำที่บอกขนาด น้ำหนัก รูปทรง 
  • เล่นบทบาทสมมุติ
  • ให้ความสำคัญกับสิ่งที่สังเกตและรับรู้ได้เท่านั้น
  • ไม่สามารถคงความคิดตามสภาพเดิมไว้ได้ 
หลักการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
  • เปิดโอกาสให้เด็กได้พูดคุย อธิบาย และสำรวจ ความสัมพันธ์แบบต่างๆผ่านทางอุปกรณ์
  • ผสมผสานคณิตศาสตร์ผ่าการเล่น
  • ให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสต่างๆในการสร้างความเข้าใจ
  • ใช้คำถามปลายเปิด 
กิจกรรมท้ายการเรียน 

อาจารย์ให้นักศึกษาทุกคน  วาดรูปสัตว์ที่มีขา  ที่คิดว่าตนวาดขาได้เยอะที่สุด  ข้าพเจ้าได้วาดรูปผีเสื้อ ซึ่งมีหกขา  แต่มีเพื่อนๆบางคนก็วาดรูปแมงมุม และสัตว์อื่นๆ ต่างกันไป แต่เพื่อนคนหนึ่งวาด รูปตะขาบร้อยขา อาจารย์เลยให้รางวัล แต่ก่อนที่จะให้รางวัล อาจารย์ได้บอกให้ทุกคนทำรองเท้า ให้แก่สัตว์ที่ตนเองวาดให้ครบจำนวนขา ที่ตนวาด ค่ะ ^^






วันจันทร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ 1

บันทึกอนุทินครั้งที่ 1
วิชา  การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิ่น
ครั้งที่ 1  เวลาเรียน 14:10น. - 17:30น.


ตัวอย่าง มายแมพ

ในการเรียนการสอนวันแรก อาจารย์ให้นักศึกษา ทำความรู้จักกับวิชาการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
โดยการให้นักศึกษาทำมายแมพ ตามที่ตนเองเข้าใจ ไม่มีถูก ไม่มีผิด เป็นการแสดงออกทางความคิดอย่างอิสระ และมีระบบ